ปรับขนาดตัวอักษร
โหมดการเข้าถึงสำหรับผู้พิการ
ภาษา
เข้าสู่ระบบ
ที่เที่ยวใน จ.ภูเก็ต
จำนวนที่เที่ยวใน จ.ภูเก็ต ทั้งหมด 10 รายการ
     กอจ๊าน หมายถึง อวนจับปลา มีต้นกำเนิดมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ โดยจะใช้อวนกอจ๊าน กับเรือที่สร้างมาโดยเฉพาะ เรียกว่า เรือกอจ๊าน และสันนิษฐานว่าน่าจะนำมาใช้ในภูเก็ตพร้อมกับชาวจีนที่เข้ามาดูลู่ทางทำมาหากินในอดีต คำว่า กอจ๊าน จึงเป็นชื่อเรียกติดปากของชาวบ้าน ได้นำมาใช้เป็นชื่อเรือกอจ๊าน วิธีการจับปลาแบบกอจ๊าน และท่าเรือกอจ๊าน ซึ่งปัจจุบันหาดูได้ยาก และมีเพียงแห่งเดียวเท่านั้นในจังหวัดภูเก็ต     เรือกอจ๊าน หรือ เรือท้ายเป็ด มีตัวเรือประกอบด้วยไม้ทั้งลำและใช้ชัน (ยางไม้ชนิดหนึ่ง) ในการยารอยต่อระหว่างพื้นไม้  ลำเรือจะมีขนาดเล็กสามารถรับน้ำหนักผู้โดยสารได้มากสุด 8 คน ขับเคลื่อนโดยใช้ผ้าใบและไม้พายยาว จึงทำให้เรือกอจ๊านกลายเป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นภูเก็ตที่หานั่งได้ยากขึ้นทุกวัน การล่องเรือกอจ๊านเป็นกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่น่าสนใจ เรือของชมรมกลุ่มกอจ้าน (ประมงพื้นบ้าน) จะนำทุกท่านท่องธรรมชาติทางทะเล ชมป่าชายเลน แวะดูฝูงลิงแสมที่อาศัยอยู่ในป่าโกงกาง เส้นทางท่องเที่ยวจะล่องน้ำไปตามคลองบางปิ้ง คลองเกาะผี และฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ณ เกาะผี
7 มิถุนายน 2555
     วงเวียนสุรินทร์ หรือ วงเวียนหอนาฬิกา เป็นวงเวียนที่มีอายุยาวนาน ได้รับการบูรณะซ่อมแซม และออกแบบใหม่ตามสถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกีส เพื่อให้กลมกลืนและเป็นหนึ่งเดียวกับเมืองโบราณซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกีสเช่นเดียวกัน หลังการบูรณะซ่อมแซมยามค่ำคืน จะเปิดไฟสีส้มส่องขึ้นไปยังตัวหอหอนาฬิกาเพื่อขับเน้นถึงความสวยงาม และอวดโฉมผู้ที่สัญจรไปมา รอบ ๆ บริเวณจะมีม้าหนัง และจัดสวยหย่อมสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ ถ่ายรูป ซึ่งก็มีทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทย ชาวต่างประเทศ และชาวภูเก็ตให้ความสนใจ วงเวียนแห่งนี้ตั้งอยู่บนถนนภูเก็ต และเป็นจุดเชื่อมต่อไปยังสถานที่ต่างๆ เช่น ห้างโอเชี่ยน โรบินสัน ตลาดเกษตร สะพานหิน
7 มิถุนายน 2555
     อ๊ามสามกอง (ศาลเจ้าหลิมฮู้ไท้ซู้) หรือ สำนักส่านกอง อวิ๋นซานกอง (ส่ามกอง ฮุนส่านเก้ง) ตั้งอยู่เลขที่ 306 ถนนเยาวราช ตลาดสามกอง ถนนเยาวราช ใกล้โรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เอ่งจ๋าย เจนเรือ (สัมภาษณ์ 16 มี.ค. 2550) ได้เล่าให้ฟังว่า ศาลเจ้าแห่งนี้เดิมเป็นที่ดินของ หลวงสุนทรจีนประชา (ตันไป่อุ่น) ต่อมาท่านได้มอบให้ศาลเจ้าหลิมฮู้ไท่ซู ประมาณ พ.ศ. 2462 โดยออกโฉนดที่ดินในนามของ หมื่นสามกอง (ตันบุ่นเส็ง) ร่วมกับศาลเจ้าหลิมฮู้ไท้ซู้ และทางการได้แต่งตั้งท่านเป็นผู้จัดการดูแลศาลเจ้าด้วย         ตัวศาลเจ้าเดิมเป็นพื้นปูนกั้นสังกะสี มุงหลังคาจากเสาไม้ ต่อมาเปลี่ยนเป็นหลังคาสังกะสีและเปลี่ยนเป็นเสาปูน ในช่วงปี พ.ศ. 2500 เศษ ได้เปลี่ยนเป็นหลังคากระเบื้องลอน ในปี พ.ศ. 2537 ได้รื้อสร้างใหม่หมดดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน และในปี 2537 นี้ทางกรรมการศาลเจ้าได้เริ่มให้มีการกินผักเป็นปีเเรกจนถึงปัจจุบัน
7 มิถุนายน 2555
     ศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้ง สร้างขึ้นเมื่อปี 2539 แล้วเสร็จเมื่อปี 2540 ตั้งอยู่บริเวณปลายแหลมสะพานหิน โดยด้านหน้าของศาลเจ้าจะหันออกท้องทะเล บริเวณโดยรอบบรรยากาศร่มรื่น จากประวัติที่จารึกไว้ในแผ่นหินหน้าศาลเจ้า ปรากฎว่า พระนางกิ้วเที้ยนลื้อ ซึ่งเป็นเทพเจ้าชั้นผู้ใหญ่ ฝ่ายศาสนาเต๋า ในสมัยของพระเจ้าเหลือง ได้บอกผ่านร่างทรงของท่านว่า  ต้องการที่จะให้มีการจัดตั้ง ศาลเจ้าประจำองค์ของท่าน เพื่อท่านจะได้ช่วยปกปักรักษาคุ้มครองลูกหลานชาวภูเก็ต เพื่อพ้นภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆความสำคัญของศาลเจ้าแห่งนี้      นอกจากจะเป็นสถานที่มีรูปประทับของเทพเจ้ากิ้วเที้ยนเฮียนลื้อ ตั้งอยู่เป็นพระประธานของศาลเจ้าแล้ว ยังมีรูปบูชาขององค์เทพเจ้าจีน ตามความเชื่อของชาวไทย เชื่อสายจีนอีกมากมาย โดยเฉพาะเทพเจ้าที่เป็นเพศหญิงในวันสุดท้ายของประเพณีถือศิลกินผักของทุกปี ศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้ง แห่งนี้จะคึกคักเป็นพิเศษ เต็มไปด้วยผู้คนเนื่องจากบรรดาศาลเจ้าต่าง ๆ ในเมืองภูเก็ตต่างจัดขบวนแห่เทพเจ้ามาทำพิธี ส่งพระกันที่บริเวณปลายแหลมสะพานหิน
7 มิถุนายน 2555
     สวนสาธารณะแห่งนี้มีขนาดพื้นที่ 350 ไร่ ซึ่งถือว่าใหญ่ที่สุดในบรรดาสวนสาธารณะทั้งหมดในจังหวัดภูเก็ต แต่เดิมพื้นที่นี้เคยเป็นเหมืองแร่มาก่อน ต่อมาได้พัฒนาเป็นสวนสาธารณะสวนหลวง ร.9 ในปี พ.ศ. 2530 โดยมีการฟื้นฟูพื้นที่ดังกล่าวเพื่อส่งเสริมในด้านการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พร้อมกันนั้นเป็นปีแห่งการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 60 พรรษา ในปี พ.ศ. 2530 กระทั่งได้พัฒนาสวนสาธารณะแห่งนี้ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน สวนหลวงร.9 ถือเป็นสวนสาธารณะที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการพักผ่อนอย่างมาก     ปัจจุบันมีผู้มาออกกำลังกายทั้งยามเช้าและยามเย็น โดยเฉพาะหลังเวลาเลิกงานของทุกวันจะมีผู้คนมารวมตัวกันที่นี่เป็นจำนวนมาก โดยจับจองพื้นที่ออกกำลังกาย ตามความถนัดและความชอบของแต่ละคน ซึ่งมีทั้งออกกำลังกายโดยการวิ่ง เล่นฟุตบอล ตะกร้อ วอลเล่ย์บอล บาสเก็ตบอล เต้นแอโรบิก ฯลฯ รวมไปถึงการนั่งพักผ่อนปิกนิก ชมทัศนียภาพที่แวดล้อมไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่อันเขียวชอุ่มให้ร่มเงาและอากาศบริสุทธิ์ โดยมีขุมน้ำอยู่ตรงกลางสวนสาธารณะ
7 มิถุนายน 2555
30 มกราคม 2554
วัดมงคลนิมิตรปัจจุบันเป็นวัดหลวงประจำจังหวัดภูเก็ต ตั้งอยู่ที่ตำบลตลาดเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต      วัดมงคลนิมิตรปัจจุบันมีพระราชวิสุทธิมุณีเจ้าคณะจังหวัดเป็นเจ้าอาวาสวัดมงคลนิมิตรเป็นวัดที่มีความเก่าแก่วัดหนึ่งในเมืองภูเก็ตและคงจะเป็นวัดหลวงแต่ครั้งตั้ง เมืองภูเก็ตหลังจากเมืองถลางถูกพม่าทำลายลง คงจะราวรัชกาลที่ 3 เป็นต้นมาเพราะก่อนจากนี้เมือง ภูเก็ตอยู่แถววัดเก็ตโฮ่ วัดมงคลนิมิตร ใครเป็นผู้สร้างไม่ปรากฎแน่ชัดไม่มีหลักฐานแต่เจ้าเมืองภูเก็ตได้ปฏิสังขรณ์ทะนุบำรุงนี้ตลอดมา แต่เดิมธรณีสงฆ์ของวัดมงคลนิมิตรกว้างขวางมาก คือ ทางตะวันตกก่อนที่ถนนเยาวราชยังไม่ผ่านที่ของวัดไปถึงโรงเรียนปลูกปัญญา วัดคุณชี ทางตะวันออกจดถนนเทพกษัตรีย์ บนเขารังที่ดงตาลโตนดก็เป็นที่ของวัด ปัจจุบันธรณีสงฆ์จึงมีน้อยลง ประวัติวัดมงคลนิมิตร      เล่ากันว่าพระยารัษฎาฯ จะตัดถนนผ่านวัดโดยตัดจากซอยรมณีย์ออกถนนทุ่งคาแต่ท่านพระครูวิสุทธิวงศาจารย์ (เพรา) ท่านไม่ยอมเพราะจะต้องตัดตรงผ่านโบสถ์ด้วยถ้าตัดถนนผ่านวัดคราวนั้นธรณีสงฆ์อาจแคบกว่าที่เป็นอยู่ก็เป็นได้ แต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้เสด็จไปวัดมงคลนิมิตร ท่านพระครูวัดฉลองเป็นเจ้าคณะจังหวัดและเป็นเจ้าอาวาสวัดมางคลนิมิตรด้วย ทรงเห็นโบสถ์ชำรุดทรุดโทรมไปมากแล้วจึงโปรดเกล้าให้พระยาศรีสรราช จัดการซ่อมแซมโบสถ์ ในคราวกระทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ของมณฑลภูเก็ต พระราชพิธีได้จัดที่วัดนี้ จากรายงานของหลวงวรากรราชกิจ ปลัดกรมสรรพากรนอกกระทรวงมหาดไทยซึ่งตามประกาศตราตั้งให้หลวงวรากร นำน้ำพระพิพัฒน์จากกรุงเทพฯ มายังมณฑลภูเก็ต โดยลงเรือกลไฟ ชื่อตราด จากกรุงเทพฯ ถึงสงขลาแล้วย้อนมาพัทลุง ถึงเมืองตรังมีหม่อมเจ้าประดิพัท เกษมศรี ปลัดมณฑลภูเก็ตกับพระสกลสถานพิทักษ์ผู้ว่าราชการเมืองตรังได้กระทำการถือน้ำที่วัดกันตังครั้นถึงวันที่ 9 พฤศจิการยน พ.ศ. 2453 หม่อมเจ้าประดิพัทธ เกษมศรี ปลัดมณฑลภูเก็ตกับพระสกลสถานพิทักษ์ ผู้ว่าราชการเมืองตรังได้กระทำการถือน้ำที่วัดกันตังครั้นถึงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 หม่อมเจ้าประดิพัทธ์ ได้จัดตั้งพิธีถือน้ำ ณ วัดมงคลนิมิตร ข้าราชการผู้ใหญ่น้อยฝ่ายทหารและพลเรือนมาประชุมพร้อมกันโดยกระทำสัตย์สาบานต่อหน้าพระพุทธปฏิมากร และพระบรมรูปพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วได้ดื่มน้ำโดยทั่วกัน ในครั้งนี้พ่อค้าจีนได้ตัดเปียด้วย วัดมงคลนิมิตรมีพระพุทธรูปทององค์หนึ่ง กล่าวว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยเดียวกันกับ พระพุทธรูปทองวัดไตรมิตร กรุงเทพมหานครฯ เดิมอยู่ในเจดีย์หน้าโบสถ์ รวมกับพระพุทธรูปแบบพม่าครั้งแรก ลงรักสีดำ ได้ขัดกันมาหลายครั้ง ต่อมาเห็นรอยด้านหน้าร้าวจึงได้ขัดทั้งองค์โดยท่านเจ้าคุณรูปปัจจุบันได้เรียกช่างมาดู ปรากฎว่าเป็นทองดังกล่าวมาแล้ว สำหรับเจ้าคณะจังหวัดหลังจากท่านพระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุรี (หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง) แล้วรูปถัดมาคือ พระวิสุทธิวงศาจารย์ (ไข่) พระราชวิสุทธิวงศาจารย์ (เพรา) และท่านเจ้าคุณ รูปปัจจุบัน คือ พระราชวิสุทธิมุนี (ริ่น) เป็นเจ้าอาวาสและเจ้าคณะจังหวัดภูเก็ต
30 มกราคม 2554
77733